ในตอนที่แล้วเราได้พูดถึง สิ่งกระตุ้น อยากให้ระลึกถึงเพิ่มในตอนนี้ว่า สิ่งเร้าแต่ละอย่างให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไปสำหรับแต่ละคน เพราะอย่างที่เราเคยได้คุยกันเมื่อตอนที่แล้วว่าเราได้ฮาร์ทแวร์ ซอฟ์ทแวร์มาไม่เหมือนกัน เมื่อมาประกอบกับการเลี้ยงดู พื้นฐานชีวิตครอบครัว ประสบการณ์ก็จะเกิดอารมณ์และความรู้สึกที่ต่างกันออกไป สิ่งกระตุ้นเดียวกัน เช่น คำพูดของครูสู่เด็กทั้งห้อง ครูคนเดียวกัน คำพูดเดียวกัน แต่เด็กนักเรียนในหนึ่งห้องจะรู้สึกแตกต่างกันออกไป (บางครั้งต่างกันอย่างสิ้นเชิง) เมื่อเรารู้สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์แล้ว ต่อไปก็ให้ เราสังเกตุรูปแบบ (Pattern) ความรู้สึกเราต่ออารมณ์นั้น (Feeling your feeling, emotion) ซึ่งมีมีหลายแบบที่เราสามารถนิยามได้หลายแบบ เช่น แนวทรงพลังบวก เช่น ตื่นเต้น จูงใจ มีแรงบันดาลใจ สดชื่น เช่น แจ่มใส กระตือรือร้น หรือแนวทรงพลังลบ เช่น โกรธ โมโห เดือดดาล เกลียด ไม่เห็นด้วย ไม่ชอบหน้า แนวถดถอย เช่น หูดหู่ เสียใจ หมดแรง น้อยใจ ซึมเศร้า แนวไม่ไหนมาไหน เช่น ว้าวุ่น วิตก กังวล กลัว เครียด แนวกลางๆ เช่น สงบ ผ่อนคลาย สบายใจ
ในการดูรูปแบบนั้น จะต้องมีความตั้งใจ มีเวลา ที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น ถ้าเป็นไปได้สามารถนั่งลง และจดบันทึกความรู้สึกไว้เลย จะทำให้เราจดจำได้ดี เพราะถ้าคิดตามอย่างเดียวอาจจะหลงลืมได้ ยกตัวอย่างอาการทางกาย ก็ต้องคอยดูว่ามันมาทางไหน ทางอุณหภูมิที่รู้สึกเปลี่ยนไป (ร้อน – หนาว) หรือมาทางกล้ามเนื้อ (สั่น - ตึง) หรือมาทางระบบประสาท (วูบวาบ - ดำดิ่ง) ก็ให้สังเกตุไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเห็นว่ามันเย็นลง ร้อนขี้น เบาลง หนักขึ้น อย่างไร เหมือนเราเฝ้าดูกราฟหุ้น ถ้าฝึกเป็นประจำ แล้วเราก็จะเริ่มเข้าใจว่ากราฟของอารมณ์เราเป็นอย่างไร (Emotional Chart) ว่าอ๋อ ถ้าเกิดสิ่งนี้ขึ้น เราอาการทางกายจะอย่างนี้ ความรู้สึกจะเป็นแบบนี้ และจะอยู่เป็นเวลาเท่านี้ เกิดเป็นผลเช่นนี้ ตอนนี้แหละที่เราจะเป็นคนตัดสินว่าเราจะอยากได้ผลอย่างไรกับการบริหารอารมณ์ของเรา หนึ่งบริหารตามรูปแบบเดิมที่เป็น เป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไปตามนั้น หรือ สองฝึก แค่ระดับการรับรู้ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะคิดวนไป หรือ สามบริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการวิเคราะห์รูปแบบของอารมณ์ด้วยการตอบสนองความต้องการของอารมณ์
ในตอนนี้ขอยกตัวอย่างการบริหารจัดการระดับที่หนึ่งและสองกรณีศึกษาคุณแม่กับวัยรุ่นตื่นสายนะคะ สิ่งที่เป็นสิ่งกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกที่ทำให้คุณแม่เกิดอารมณ์คือวัยรุ่นที่ตื่นสาย ตัวกระตุ้นนี้ทำให้ คุณแม่เกิดอารมณ์หงุดหงิด ไม่พอใจ เราคิดว่าเขาควรตื่นแต่เช้า (เพราะในใจเราคิดว่าการตื่นสายเป็นเรื่องไม่ดี สิ่งที่ดีคือต้องตื่นแต่เช้า) เราก็ต้องรับรู้ว่าอารมณ์หงุดหงิด ไม่พอใจ ว่าเป็นอย่างไร? อาการทางกายที่ตอบสนอง (Reaction) คือ หน้าบูด พูดเสียงดัง หรือพูดไม่ออกคืออึดอัด และไม่สดชื่น จากนั้นเมื่อเฝ้าดูอาการต่อก็จะพบว่าอาการไม่พอใจ อาการอึดอัด หน้าบูด ไม่สดชื่นนี้อยู่นานไหม? ก็จะพบว่าอยู่นานพอสมควรอาจจะ 1-2 ชั่ว่โมง จนเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น (Interaction) เช่น คุณแม่ได้บ่น หรือได้เกิดการโต้ตอบกันระหว่างคุณแม่กับคุณลูก หรือ ทั้งสองฝ่ายต่างถอยห่างจากกันไป จากการวิเคราะห์แพทเทริน์นี้ หลายท่านอาจอยากรู้ว่า แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร? กิจกรรมนี้ไม่ได้มีไว้แก้ปัญหาการตื่นสายของวัยรุ่นนะคะ (ใจเย็นๆ ก่อนคะ ยังไปไม่ถึงตรงนั้น) กิจกรรมที่พาทำเป็นกิจกรรมมให้รู้จักตัวเรา รู้อารมณ์และความรู้สึกของเราก่อนเท่านั้นเองค่ะ
Comments