เ
มื่อมาถึงการตัดสินใจอะไรบางอย่าง (Decision making) เพื่อที่จะทำอะไรสักอย่าง (Taking Action) อันจะออกมาเป็นพฤติกรรม (Behavior) หรือนิสัย (Habit) ทบทวนอีกหน่อยนะคะในตอนที่หนึ่งเราพูดถึง ปัจจัยภายนอกสองอย่างหลักๆ คือสังคมและความรู้ต่างๆ (Contextual and Informational factors) จะถูกปัจจัยภายในตัวบุคคล (Personal factor) ในตอนที่สองเรา พูดถึงปัจจัยภายตัวบุคคล ที่จะมา มาหล่อ มารวม มาวัด มาชั่ง มาตวง ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรบางอย่างไป และเราได้พูดถึงเรื่องจุดสมดุลย์ และเรื่องของสถานที่และเวลา
วันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการในการ ในการเข้าถึงอารมณ์ และใช้ประโยชน์จากเขาอย่างไร ในความเป็นเหตุเป็นผลคือการใช้สมองส่วนซ้ายในการไตร่ตรองตามตรรกะ ความมีเหตุและมีผล เช่น การนำเอาเรื่องของ สถานที่และเวลา ความเหมาะสมต่างๆ นาๆ เข้ามาในสมการด้วย ซึ่งฝั่งนี้ วันนี้อาจจะยังไม่พูดถึงมาก เพราะบางท่าน เป็นมาโดยธรรมชาติ (ในงานเขียนของ อ.มานี สบายใจเลย จะใช้คำว่าเป็นมาตั้งแต่เกิด) แต่ที่อยากเสริมให้ในตอนนี้ คือ คนที่ไม่กล้าตัดสินใจด้วยอารมณ์และความรู้สึก หรือสำหรับบางคนแล้ว ไม่กล้าแม้จะรับรู้ หรือยอมรับว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร
ก่อนที่จะไปถึงการจัดการอารมณ์หรือการบริหารอารมณ์ มาที่การเข้าใจและยอมรับในในขั้นแรกก่อนว่า เราเป็นมนุษย์ที่มีอารมณ์ (กลับไปอ่านตอนที่ 1-7 เพิ่มเติมได้นะคะ) และอารมณ์นี้ต้องการ การรับรู้ และการยอมรับ ให้เราแยกเรื่องคำสอนที่เคยได้ยินหรือสิ่งที่เคยอ่านออกไปก่อน ที่พูดถึงอารมณ์เหมือนตัวละครตัวร้าย ทำให้เราไม่กล้าแม้กระทั่งจะมีอารมณ์ ถ้าทำได้แล้วเราจะไปที่เรื่อง การรับรู้ (Awareness) ว่าเกิดอารมณ์นี้ว่ามันทำให้เกิดความรู้สึกอย่างไร (Sensation) เช่น อาจรู้สึกร้อน ที่หน้า ที่คอ ทั้งตัว หรืออาจรู้สึกหนาว ที่ท้ายทอย ที่อก ที่ท้อง มือ เท้า หรือทั้งตัว หรืออาจรู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ชา จุก แน่น หวิว ไม่มีแรง ฯลฯ เหล่านี้เป็นอาการที่ร่างกายเรารับและตอบสนอง ต่อสิ่งเร้า (Triggers) ที่เข้ามาแล้วเราอาจจะตัดไปที่การแปลความหมายอย่างเร็ว (Short cut reaction) ออกมาเป็นอาการทางกาย ซึ่งในอาการเหล่านี้ เรามักจะสับสนกันว่าอันไหนจริงอันไหนหลอก อย่างที่หนึ่ง คือสัญชาติญาณของความอยู่รอด ที่เรียกว่าโหมดสู้หรือหนี (Fight or Flight) นั่นเอง อันนี้มีประโยชน์จริงในความอยู่รอด เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นเราเทียบจะไม่ต้องคิด แต่ตัดสินใจ และทำไปทันที เช่น ถ้าเราเห็นไฟลุก สัมผัสถึงความร้อน เราจะประมวลผลแบบเร็วว่าไฟไหม้ หัวใจจะเต้นเร็ว และพร้อมที่จะกระทำการใดได้ทันที เช่น กระโดดหนี วิ่งหนี ยกของ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องของการตอบสนองเพื่อการอยู่รอด (Sensory perception) มีความจำเป็น และตอนต่อไปจะได้เล่าสู่กันฟังว่า เราจะแยกการตอบสนองเพื่อความอยู่รอดจริงๆ และความรู้สึกที่เหมือนจะไม่รอดนั้นเป็นอย่างไร
Comments